- HISTORY OF MACADAMIA NUTS IN THAILAND -
DE LOEI
MACADAMIA NUTS | PHURUA VANODHAYAN
Grower & seller of Macadamia nuts since 1997
History of Macadamia Nuts in Thailand
As we mentioned, Macadamia originally came from Australia. However, they became internationally well-known as an important commercial nut in Hawaii. Then in 1953, Mr. Prasit Phumchusri, the owner of Raming Tea Plantation, tried his hand on Macadamia. With the help of USOM and the Ministry of Agriculture, he brought selected varieties of macadamia nut plants and experts to his plantation in Chiangdao district as well as to the Agricultural Research Center in Fang District, both in Chiangmai. Unfortunately, Mr. Prasit died the next year and the Reseach Center grew my relatives in low land which we don't like. So this first attempt failed and the Thai people nearly miss the chance to meet and try Macadamia nuts!
Luckily, in 1981, some guys at the Highland Agricultural Extension Center were clever enough to foresee our potentiality. They ordered the variety no. 741 which is suitable for highland and no. 800 for lowland. Even more fortunately, our beloved King Bhumibol Adulyadej (King Rama IX) had a great insight. He foresaw our possibility as a substitute for opium in the watershed areas in the north of Thailand. So he assigned the Dept. of Agriculture to look after this project. What makes me very proud is that the King himself planted my ancestor at the Khunwang Royal Research Station, Maewang district, Chiangmai. In addition, he assigned the Huay Hongkrai Development Study Center to experiment with macadamia at Doi Saket district, also in Chiangmai.
Furthermore, he ordered the Office of the Royal Development Projects Board to allocate 200,000 Baht for 8 good varieties of macadamia nut plants from Hawaii and Australia in 1984. Experts from Australia and Hawaii University were requested to come to Thailand to experiment with a variety of terrains to find out which type was the most suitable for Macadamia. Finally, selection of proper varieties was successful in 1988-1989.
It was also in 1989 that they started growing Macadamia on a large scale (more than 1,000 rais) in Thailand as well as building international standard processing plants. Doi Tung Development Project at Mae Fa Luang district, Chiangrai, was the first to carry out such a project and later introduced similar projects to Myanmar, Laos and Vietnam.
So Macadamia is actually an international superstar since it was born in Australia, grew up in Hawaii and travelled to Indochina from Thailand.
ประวัติแมคคาเดเมียนัทในประเทศไทย
Macadamia อ่านออกเสียงให้ถูกต้อง ต้องเน้นหนักที่พยางค์แรก คือ “แมค-คา-เด-เมีย” เมื่อนำมาปลูกที่ประเทศไทย ด้วยคนไทยของเรียกไม้ผลนำหน้าว่า “มะ” หม่อมเจ้าจักรพันธ์ เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ จึงทรงขอให้เขียนเป็นภาษาไทยว่า “มะคาเดเมีย” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “มะคา”
แมคคาเดเมีย (Macadamia) เป็นพืชที่นิยมนำเมล็ดมาบริโภคกันทั่วโลก และมีความต้องการทางตลาดสูง เนื่องจากเมล็ดมีรสชาติ และเนื้อสัมผัสที่หอมมัน อุดมไปด้วยสารอาหารหลายชนิด ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และช่วยลดอัตราการเป็นโรคหัวใจ
ถิ่นฐานดั้งเดิมของต้นแมคคาเดเมียอยู่ประเทศออสเตรเลีย แต่ไปดังจริงๆ ที่สหรัฐอเมริกาเพราะที่นั่นเขาเอามะคาไปพัฒนาพันธุ์จนกลายเป็นสินค้าเกษตรอุตสาหกรรมสำคัญของโลก
แล้วมะคาเข้ามาเมืองไทยได้ยังไง? มะคาเคยถูกนำเข้ามาเมืองไทยครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2496 โดยคุณประสิทธิ์ พุ่มชูศรี เจ้าของไร่ชาระมิงค์ได้ประสานงานกับกระทรวงเกษตรผ่านองค์การยูซอม (USOM) ของสหรัฐ นำทั้งพันธุ์และผู้เชี่ยวชาญเข้ามาปลูกที่ไร่ชาระมิงค์ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ กับที่สถานีค้นคว้าทดลองฝาง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ แต่คุณประสิทธิ์เสียชีวิตในปีถัดมาและสถานีฝางได้นำไปปลูกในที่ลุ่มซึ่งไม่ถูกกับธรรมชาติของ
มะคาก็เลยไม่ประสบความสำเร็จจนเกือบไม่ได้มาเป็นเป็นที่รู้จักของคนไทยแล้ว
โชคดีที่ในปี พ.ศ. 2524 สำนักงานเกษตรที่สูง กรมวิชาการเกษตรเกิดมีคนตาถึง มองเห็นแววว่ามะคาน่าจะมีอนาคตดี จึงทดลองสั่งพันธุ์เข้ามา 2 พันธุ์คือ เบอร์ 741 ซึ่งเหมาะสำหรับที่สูง และเบอร์ 800 ซึ่งเหมาะสำหรับพื้นราบหรือที่ต่ำ และโชคดียิ่งขึ้นไปอีกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงมีสายพระเนตรยาวไกล ทรงเล็งเห็นว่ามะคาน่าจะเป็นอีกพืชหนึ่งที่นำมาปลูกทดแทนฝิ่นในพื้นที่ต้นน้ำของไทยได้ จึงทรงมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรดูแลเรื่องนี้ และที่น่าภูมิใจสุดๆ ก็คือทรงปลูกเป็นแห่งแรกด้วยพระองค์เองที่สถานีทดลองเกษตรหลวงขุนวาง อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ และยังทรงให้ไปทดลองปลูกที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ด้วย
นอกจากนั้น ยังมีรับสั่งให้จัดสรรงบประมาณของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริจำนวน 2 แสนบาทซื้อต้นพันธุ์ดีจากฮาวายและออสเตรเลีย มาทดลองค้นคว้าวิจัยและขยายพันธุ์เพิ่มเติมอีก 8 พันธุ์เมื่อปี พ.ศ. 2527 ทั้งยังติดต่อขอผู้เชี่ยวชาญจากประเทศออสเตรเลียและมหาวิทยาลัยฮาวายมาวางแผนค้นคว้าและพัฒนาเพื่อดูว่าพื้นที่แบบไหนที่เหมาะกับมะคาในเมืองไทย จนในที่สุดก็สามารถคัดเลือกพันธุ์ได้สำเร็จเมื่อประมาณปี 2531 - 32
ในปี 2532 นี้เองที่เมืองไทยได้เริ่มต้นปลูกมะคาเป็นพืชเกษตรอุตสาหกรรมอย่างจริงจังในรูปแบบสวนหรือไร่ขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1,000 ไร่ พร้อมโรงงานแปรรูปแบบมาตรฐานสากล โดยทดลองปลูกที่โครงการพัฒนาดอยตุงที่ อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงรายเป็นแห่งแรก และต่อมา โครงการดอยตุงก็ได้นำไปเผยแพร่พัฒนาที่ประเทศเมียนม่าร์ ลาวและเวียดนามตามลำดับ
เห็นได้แล้วว่ามะคาเกิดในออสเตรเลีย พัฒนาที่ฮาวายและกระจายไปในอินโดจีนจากประเทศไทย